วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความเรื่องเทคโนโลยีกับการพัฒนา
ในยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนที่ทำให้เกิดการพัฒนา หลากหลายทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี สื่อสารสนเทศ พร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งไทย มีข้อผูกพันกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WTO, ASEAN, AFTA, EU, APEC หรือ กลุ่ม เศรษฐกิจ อื่น ๆ เช่น สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ รวมทั้งความรับผิดชอบด้านศรษฐกิจ การค้า การตลาด การคุ้มครองผู้บริโภค การแทรกแซงตลาด ราคาสินค้า จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ จะต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วางแผนล่วงหน้า อย่างเป็นระบบพร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้สื่อสารสนเทศ IT Internet                                     
ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ยังดำเนินต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งนี้เอง จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องหันมาให้ความสนใจ สร้างความเข้าใจ และหาทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และสังคมของเราให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในเชิงเศรษฐกิจและในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงไว้ และยังสามารถให้ชุมชนโลกได้รู้ถึง ซึ่งความมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทยที่มีมาช้านานได้  
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อระบบเศรษฐกิจนั้นคงเป็นที่เห็นเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการผลิต และการประกอบธุรกรรม โดยจะเห็นได้จากการที่ภาคธุรกิจ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน การธนาคาร ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนผลในทางสังคม เป็นสิ่งที่รัฐต้องเข้ามาดูแล เพื่อที่จะให้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดในทิศทางที่จะช่วย "ลดช่องว่าง" ระหว่างชุมชนเมืองและชนบท และ "ขยายโอกาส" ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้รวมถึงโอกาสด้านการศึกษา การสาธารณสุข การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นๆ ของรัฐ   ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณลักษณะหลายประการ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการนำมาใช้เป็นสื่อ หรือเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่วัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อในรูปแบบอื่น ที่มีการใช้กันมาแต่ดั้งเดิม โดยคุณลักษณะดังกล่าวได้แก่ ความสามารถในการเผยแพร่ และกระจายข้อมูลไปสู่ผู้รับได้ทั่วโลก (borderless) โดยปราศจากซึ่งขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และเวลาความสามารถในการสร้างระบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) หรือการโต้ตอบระหว่างผู้ให้และผู้รับข้อมูล หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสารสองทางและประการที่สำคัญคือความคงทนถาวร สะดวกในการค้นคว้า เหมาะกับข้อมูลทางวัฒนธรรม ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย
 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ดำเนินโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติขึ้น ในปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะเข้ามามีบทบาท ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะได้นำเสนอตัวอย่างของโครงการ ที่ได้ใช้ศักยภาพจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรมของไทย   จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของอินเทอร์เน็ต ที่เหมาะแก่การเผยแพร่ข้อมูลวัฒนธรรมคือ การที่สามารถเข้าถึงผู้คนกว่า ๖๐ ล้านคนทั่วโลก ซึ่งหากนับค่าใช้จ่ายต่อผู้รับ ๑ คน แล้วถือว่าน้อยกว่าการพิมพ์หนังสือมาก ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษา และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นทั่วโลก โดยผ่านเพียงหน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการใช้โอกาสจากศักยภาพของเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้จักเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตน ซึ่งยังมีอยู่ในระดับต่างกัน ชนชาติที่มีความตื่นตัวและเห็นประโยชน์ ก็จะนำข้อมูลของตนมาลงเพื่อเผยแพร่ ทำให้ผู้คนอีกหลายสิบล้านคนทั่วโลก ได้เรียนรู้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชนชาตินั้น และในทางตรงกันข้าม ชนชาติที่ยังขาดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว ก็จะต้องอยู่ในสภาพที่เป็นแต่"ผู้รับ"วัฒนธรรมของชาติอื่นไป                                                                                                                           
 นอกจากในเรื่องของวัฒนธรรมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศยังเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการศึกษา คือ โรงเรียนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดการศึกษา โดยจัดให้เป็นรูปแบบการศึกษาเพื่อปวงชนซึ่งหากเราพิจารณาไปที่ องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ สื่อซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้โดยตรงของบุคคลในสังคมดังนั้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร และการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่จำกัดอยู่เฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดบริการให้แก่ประชาชนในระดับท้องถิ่นแต่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน    แผนงานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ที่เน้นไปยังพื้นฐานของประเทศคือชุมชนในชนบทโดยนำ อินเทอร์เน็ต เข้าสู่ทุกพื้นที่ ด้วยการสร้างเว็บไซต์ระบบรวมที่จะเป็นศูนย์กลางเพื่อการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว และสินค้า ไทยทุกตำบลทั่วประเทศ ออกสู่สายตาชาวโลก และนำไปสู่การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ThaiTambon.com เป็นเว็บไซต์บริการข้อมูลที่น่าสนใจของทุกตำบลในเมืองไทย เพื่อพัฒนาให้ทุกตำบลเจริญและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลทางการเมืองการบริหาร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักและร้านอาหาร จะเห็นได้ว่า การค้าขาย เกิดขึ้นได้จากการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อ สินค้าที่นำเสนอขาย เป็นได้ทั้งแบบที่เรียกว่า ออนไลน์แคตตาลอก (Online Catalog) คือแทนที่จะต้องไปพิมพ์เป็นเล่มโตๆ (วิธีที่อาจจะโบราณไปแล้ว) ซึ่งปรับปรุง แก้ไขได้ยากและสิ้นเปลืองมาก แต่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตแทน เพราะแพร่ไปได้ทั่วโลก ดูได้ตลอดเวลา                                                          
การดำเนินการดังกล่าวเพื่อสร้างระบบข้อมูลตำบลให้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลด้านต่างๆ ของตำบลจะถูกเก็บเข้าระบบฐานข้อมูล และสร้างเป็นเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และนำเสนอการทำงาน และผลิตภัณฑ์ของชุมชนกลุ่มชน ตลอดไปจนถึงระดับSMEs เป็นการช่วยเหลือให้กับประชาชน                                                       
เครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลงานวิจัยด้านท่องเที่ยวของ สกว. สำนักงานภาค ได้จัดทำเว็บไซต์  http://www.communitytourism.net ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล  ความรู้ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวตามชุมชนต่าง ๆ  ในเครือข่าย เว็บดังกล่าวจะนำเสนอข้อมูล ความเคลื่อนไหวในแวดวงวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเสมือนสื่อกลาง หรือสะพานเชื่อมอันจะทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น  และยังรวมไปถึงนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจในแต่ละเดือน  หรือแม้แต่เกร็ดเล็ก ๆ น้อยอย่างการเตรียมความพร้อมก่อนท่องเที่ยวเพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาเดินทาง นักท่องเที่ยวจะมีความสุข และสนุกกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ณ เวลานี้ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นพื้นที่ในชุมชนท้องถิ่นกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากขณะเดียวกันภาครัฐเองก็เริ่มหันมาสนใจวิถีการท่องเที่ยวแบบนี้  มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านจัดทำการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบ  อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฉะนั้นกระแสการท่องเที่ยวแบบนี้ถือเป็นทางเลือกทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับตัวชุมชนและนักท่องเที่ยว                                                                                    
 เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  ปัจจุบันสามารถชมข่าว  ชมรายการทีวี  ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก  จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ (keywords): คอมพิวเตอร์
· สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ

โดย       นาง จิตสถา เตชะทวีกุล
ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่   โรงเรียนจรัสพิชากรอาชีวศึกษา

บทความเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กับ 
Business Process Reengineering (BPR)
ในโลกปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าการแข่งขันทางด้านคุณภาพและนวัตกรรมของสินค้าและการให้บริการเข้ามามีความสำคัญมากกว่าการแข่งขันทางด้านขนาดองค์กรหรือต้นทุนสินค้า ในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology (IT) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อเพิ่มความรวดเร็วของกระบวนงานดั้งเดิมเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานยังถูกแก้ไม่ตรงจุด                                                                                                          เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพการทำงานไม่เพียงแต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เท่านั้น องค์กรต้องมีการ reengineering กระบวนงานที่เก่าและล้าสมัยด้วย                                ความคิดเกี่ยวกับ Business Process Reengineering (BPR) จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญคือการวิเคราะห์และ redesign กระบวนงานและกฏระเบียบเก่า ๆ ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างกระบวนการนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการคำนึงถึงกระบวนงานในภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก แทนที่จะเป็นการมองไปที่กระบวนของของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยมีหลักสำคัญดังนี้1. เน้นที่ผลลัพธ์ การทำReengineeringให้ความสนใจที่เป้าหมาย (objective- or outcome-oriented) มากกว่าตัวงาน (tasks) ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีทีมงานเพียงหนึ่งทีมทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนงานหนึ่ง ๆ เพื่อลด time-overhead ที่บุคคลต้องติดต่อหรือถ่ายทอดงานกันและเพิ่มประสิทธิภาพของงานเนื่องจากมีผู้ที่รู้กระบวนงานและสถานะทั้งหมดในภาพรวม                                                                                        2. หน่วยงานเบ็ดเสร็จ คือแนวความคิดที่ให้ผู้ที่ต้องการผลของกระบวนงานเป็นผู้ดำเนินกระบวนงานนั้นเอง นั่นคือ หน่วยงานสามารถมีบทบาทและหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งบทบาท                                  3. รวมข้อมูล คือการผนวกรวมการผลิตและการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเดียวกัน                                                                                                                                    4. กระจายทรัพยากร ทรัพยากรขององค์กรควรมีการกระจายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสะดวกในการใช้งานแต่ต้องสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียวซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจายเหล่านั้น เช่นข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น                                                                                                                                                          5. ทำงานอย่างคู่ขนาน คือแนวความคิดให้องค์กรทำการเชื่อมโยงกิจกรรมที่ทำอย่างคู่ขนานกันในขณะที่มันกำลังดำเนินการอยู่แทนที่จะทำเป็นลำดับ                                                                                                6. ลดลำดับการสั่งการ คือการทำระดับการบริหารให้แบนเรียบขึ้นและให้อำนาจการตัดสินใจในจุดที่เกิดกระบวนการทำงานขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจในงานที่เขาทำได้ด้วยตนเอง7.  ดึงข้อมูลจากแหล่งต้นทาง เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลจึงควรถูกรวบรวมแค่ครั้งเดียวและจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง แล้วค่อย share ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ                              BPR ไม่ใช่งานที่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องทำข้ามกระบวนงานซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานในองค์กร ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้การควบคุมและตัดสินใจครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรด้วย   จะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและBPRมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงควรพิจารณาในด้านที่ช่วยสนับสนุนการ redesign กระบวนงานทางธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลโดยการเก็บในระบบฐานข้อมูลซึ่งให้แผนก-ส่วนต่างๆในองค์กรเข้าถึงได้จากที่เดียวและในขณะเดียวกันการมองกระบวนการทางธุรกิจก็ควรพิจารณาในด้านความสามารถที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถให้ได้ ด้วยเช่นกัน

โดย       กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555


บทความเรื่องธรรมชาติกับมนุษย์

            ภัยธรรมชาติเล่นงานคนไทยเราหนนี้สาหัสนัก หนักหนาสาหัสมากกว่าที่ใครๆ เคยได้รับรู้มาชั่วชีวิต ผู้คนจำนวนมากที่จู่ๆ พลันสิ้นเนื้อประดาตัว หลายคนไม่เพียงสูญเสียทรัพย์สินสิ่งของที่มี ยังสูญเสียสิ่งมีค่ายิ่งกว่าอื่นใด คือ ลูกหลาน พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนรัก เพื่อน ไปกับความกราดเกรี้ยวของธรรมชาติ ที่ไม่บอกให้รู้เนื้อรู้ตัว  ผู้รู้หลายคนบอกว่า นอกจากความสูญเสีย เศร้าโศก อาดูร ที่ไม่สามารถทดแทนกันได้แล้ว ดูเหมือนภัยธรรมชาติครั้งนี้ จะสอนบทเรียนล้ำค่า ให้กับมนุษย์เราอีกครั้ง สอนสิ่งที่ผู้เฒ่าผู้แก่ สอนสืบต่อกันมาเนิ่นนานนักหนาแล้วว่า ถึงอย่างไร มนุษย์เราก็ไม่อาจเอาชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้  ไม่ว่าเราจะแกร่งกล้าสามารถ มีวิทยาการล้ำหน้า มีเทคโนโลยีสูงส่งเพียงใดก็ตาม หากยังดำเนินวิถีแห่งชีวิต สวนทางกับธรรมชาติ ขัดแย้งและหักล้างกันอยู่ร่ำไป ก็ยากที่จะอยู่ร่วม
            ภายใต้วิถีทางเช่นนั้น หากมนุษย์ไม่ทำลายธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะทำลายมนุษย์ ด้วยวิสัยแห่งความขัดแย้งโดยแท้                                                                                                                                      มนุษย์มากหน้าหลายตา หลากหลายเผ่าพันธุ์ พยายามเสาะแสวงหาความรู้ ความสำเร็จ ในการเอาชนะธรรมชาติให้จงได้ สืบเนื่องมายาวนานชั่วอายุขัยของคนเรา องค์ความรู้เหล่านั้น ถูกสืบทอด พัฒนากันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่เมื่อถึงวาระสุดท้าย เราก็ได้บทเรียนสรุปชัดเจนอีกครั้ง เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมาว่า  "คนเรายังไม่อาจเอาชนะธรรมชาติได้อย่างแท้จริงและหมดจด"  บ่อยครั้งที่มนุษย์ประกาศอหังการว่า เอาชนะธรรมชาติได้ แต่ชัยชนะดังกล่าว ก็กลายเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ดูเหมือนธรรมชาติจะมีกลเม็ดเด็ดพราย มีความยิ่งใหญ่อยู่ในตัว จนเกินกว่าที่เราจะเอาชนะมันได้อย่างแท้จริง ทุกครั้งไป  น่าแปลกที่วิทยาการมนุษย์ ก้าวล้ำไปจนถึงขนาดเตรียมการออกไปสำรวจดาวเคราะห์อื่น ในห้วงอวกาศไกลโพ้นกันแล้ว แต่วิทยาการเท่าที่มนุษย์มีอยู่ ก็ยังไม่อาจปกป้องชีวิตมนุษย์ เป็นเรือนแสนด้วยกันได้ เราส่งยานสำรวจไปลงดาวอังคารได้ แต่จนแล้วจนรอด เรายังไม่อาจคิดค้นหาวิธีคาดคะเน การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าอย่างแม่นยำได้ ตรงกันข้าม ธรรมชาติใช้สิ่งที่เราคุ้นเคย พบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ให้กลายเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างที่สยดสยองและน่าพรั่นพรึงยิ่งนัก ได้ในชั่วพริบตา   หรือเป็นเพราะความก้าวหน้าประดามี ทำให้มนุษย์ดำรงตนอยู่ในความประมาท ปฏิเสธการมีอยู่ของธรรมชาติ ใช้ชีวิตโดยปราศจากการเรียนรู้ และทำความเข้าใจธรรมชาติของโลก อย่างถ่องแท้?           ดำรงชีวิตอย่างมืดบอด ไม่ยอมทำความเข้าใจ ไม่รู้จัก ไม่รักธรรมชาติ  หลงไหล ได้ปลื้ม อยู่กับเครื่องยนต์กลไกและวัตถุประดามี ที่อยู่รอบตัว แล้วลืมเลือนที่จะทำความรู้จักมักคุ้น และตระหนักถึงตัวตนที่แท้จริงของธรรมชาติไป
            ลืมเลือนไปว่าสรรพสิ่ง ย่อมมีสองด้านเสมอ มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์อยู่ในตัว บางครั้งโอบอ้อมอารี อบอุ่นและสวยสดงดงาม แต่ยามพิโรธ ก็ร้ายกาจยิ่งกว่าทุกสิ่งบรรดามี ที่มนุษย์เคยคิดค้นขึ้นมาฆ่าฟันกัน                                                                                                                                                            ยามธรรมชาติเกรี้ยวกราด มนุษย์อาจตกเป็นเหยื่อบัดพลีได้เสมอ     ปราชญ์บางคนสอนว่า อย่ายังชีวิตอยู่อย่างขัดแย้ง แต่ต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างสอดคล้อง เรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติ   อยู่ทะเลต้องรู้จักและเข้าใจทะเล   อยู่ป่าเขา ย่อมต้องเรียนรู้ทั้งคุณและโทษของลำเนาไพร เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่    มนุษย์เรากระจ้อยร่อยอะไรเช่นนั้น !

โดย       ปิยมิตร ปัญญา    piyamitara@yahoo.com

บทความเรื่อง ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน บ้านวังน้ำมอก

บ้านวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็งที่ได้รวมตัวกันลุกขึ้นมาพลิกฟื้นชีวิตป่า สร้างความเข้าใจกับธรรมชาติและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ตลอดจนบทบาทในการสร้างรายได้ อาชีพ และคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน ทำให้ชาวบ้านอยู่กันอย่างสามัคคี มีความรักในชุมชนและมีวิถีชีวิตแบบ พอเพียง เผื่อแผ่ พอดี และภูมิใจในสิ่งที่ตนมีนับเป็นแหล่งเรียนรู้ความสัมพันธ์ของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชุมชนที่ดีอีกแห่งในประเทศไทย
ชาวบ้านวังน้ำมอกมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่าธรรมชาติที่ชาวบ้านเรียกกันว่าภูผีปอบตั้งอยู่สุดเขตหมู่บ้าน มีอาณาเขตกว่า 3,500ไร่ เหตุเพราะมีป่าจึงเกิดมีอาชีพ มีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนอาหารพื้นบ้าน แต่ด้วยการประกอบอาชีพในการตัดไม้เผาถ่านประกอบกับการให้สัมปทานป่าไม้ของภาครัฐในปีพ.ศ. 2507จึงทำให้ป่าอันอุดมสมบูรณ์ถูกทำลายลงไปมาก กระทั่งต้องมีการปลูกทดแทนใหม่หมด จนได้รับประกาศให้เป็นป่าชุมชนที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ในปี พ.ศ.2537 
ชาวบ้านในชุมชนเริ่มหันมาให้ความสำคัญในการรักษาป่าของตนมากขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าควรให้มีการอนุรักษ์ป่าไม้แถบลุ่มแม่น้ำโขงไว้ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวและเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับป่าและรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ในปัจจุบัน ชาวบ้านวังน้ำมอกมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่าชุมชนแห่งนี้ มีการจัดตั้งกลุ่มป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน คอยให้ความรู้และกระตุ้นให้คนในชุมชนคิดค้นพัฒนาในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความตระหนักถึงประโยชน์ในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี รู้จักช่วยเหลือเป็นหูเป็นตาดูแลป่า มีการกำหนดกฏเกณฑ์ชัดเจนในระเบียบวิธีการใช้ประโยชน์จากป่า โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน ทั้งการเก็บหน่อไม้ เก็บเห็ด หรือ เก็บรังผึ้ง ซึ่งถือเป็นตลาดธรรมชาติที่ยั่งยืนของชุมชนและเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาววังน้ำมอก



            นอกจากการใช้ชีวิตเคียงคู่ไปกับระบบนิเวศน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านวังน้ำมอกยังสามารถต่อยอดและเชื่อมโยงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างรายได้ให้ชุมชน เกิดเป็นวิถีชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน มีการสนับสนุนในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเป็นที่ทำการหมู่บ้าน บริหารจัดการโดยชาวบ้านในหมู่บ้านเองทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านสำหรับนักท่องเที่ยวต่างถิ่น และให้ความรู้ในวิถีชีวิตอิงป่าธรรมชาติของบ้านน้ำมอก
นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติและวิถีชีวิตแบบชนบทของบ้านน้ำมอก เข้าพักผ่อนแบบเรียบง่าย สนุกสนาน ในที่พักของชาวบ้านในแบบโฮมสเตย์ ลิ้มรสอาหารชุมชนที่มีวัตถุดิบจากป่าชุมชน ตลอดจนเดินศึกษาตามเส้นทางท่องเที่ยวป่าชุมชน ชื่นชมกับดอกกระเจียว9ชั้นในช่วงหน้าฝน (สิงหาคม-กันยายน) ศึกษาต้นยางนาสูงใหญ่ที่เป็นที่ขยายพันธุ์ของผึ้งตามธรรมชาติ พร้อมกับเรียนรู้วิถีชีวิตชนบทจากชาวบ้านเจ้าของศิลปะวัฒนธรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทำขันคู่ปีเพื่อสักการะพระเจ้าล้านทองที่เป็นที่เคารพบูชาของคนในชุมชน เยี่ยมชมหัตถกรรมพื้นบ้าน ตำฮูก ทอผ้า โคมไฟพาแลง ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน ร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลปกติสุขเจริญรุ่งเรืองทั้งผู้มาเยือนและเจ้าของบ้าน การใส่บาตรข้าวเหนียว รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดในการใช้ชีวิตคู่กับธรรมชาติอีกด้วย



ข้อควรปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ดีคือการฝึกตนให้เป็นคนอยู่ง่ายรับประทานง่าย เปิดใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ซึ่งอาจจะไม่สะดวกสบายนัก ที่สำคัญคือควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของหมู่บ้าน เคารพในสิทธิของเจ้าของพื้นที่และไม่ทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อปฏิบัติของชุมชน รวมถึงไม่ลบหลู่ความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่น

โดย       Wikalenda.com

บทความเรื่องธรรมชาติ

คำว่า ธรรมชาติ ใช้สำหรับบรรยายทุกสิ่งบน โลก ที่ไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์ อาทิเช่น มนุษย์ สัตว์ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ หรือฝน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ. นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษาการทำงานของธรรมชาติ


ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ถ่ายไว้เมื่อปี พ.ศ. 2525


รูปถ่ายโลก ถ่ายไว้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยยานอะพอลโล่ 17

ในหลายๆ ด้านแล้ว กล่าวได้ว่าธรรมชาติและมนุษย์มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน บางคนมองธรรมชาติว่าเป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่เอามาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ตัดต้นไม้เพื่อนำไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงหรือนำไปสร้าง บ้าน หรือเพื่อนำที่ดินไปทำสวน ปลูกผัก หรือสร้างรถ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยควันเสีย โดยเฉพาะในเมือง หรือการที่มนุษย์จับปลาอย่างมากมายโดยฆ่าทั้งปลาและทำอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ใต้น้ำ
ในขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพราะพวกเขารู้สึกว่าธรรมชาติมีความจำเป็นต่อพวกเขา พวกเขาจึงพยายามทำสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย ปัญหาธรรมชาติจึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และกลายเป็นเรื่องการเมืองไปเสียแล้ว
มีบางคนคิดว่าอนาคตนี้มนุษย์จะไม่ต้องการธรรมชาติ และฉลาดพอที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ทดแทนธรรมชาติได้ แต่อันที่จริงแล้ว มนุษย์เองก็เกิดจากธรรมชาติและธรรมชาติก็สร้างมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสมองอันชาญฉลาด มีความสามารถที่จะปกป้องธรรมชาติจากอันตราย และช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ หากธรรมชาติเสื่อมโทรมลงไป มนุษย์อาจจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะดูแลรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถแสดงให้มนุษย์เห็นว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และมนุษย์ศึกษาธรรมชาติ เพื่อที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
ธรรมชาติในอีกความหมายหนึ่งคือ สิ่งที่มนุษย์กระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวแล้วมนุษย์อีกคนหนึ่งแอบมองโดยไม่ได้ตั่งใจหรือตั่งใจ เช่น ธรรมชาติของคนที่โกรธจัดจะเป็นอีกแบบกับคนที่อารมณ์ดีซึ่งคนที่อารมณ์ดีจะหน้าดูกว่าคนที่อารมโกรธหรืออารมณ์ไม่ดี